ฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ
1. วิเคราะห์ สำรวจ และจัดทำฐานข้อมูลด้านสาธารณภัย พื้นที่เสี่ยงภัย สภาพภูมิประเทศ และสิ่งก่อสร้างที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสาธารณภัย
2. เฝ้าระวัง รับแจ้งเหตุ แจ้งเตือนภัย รายงาน ติดตามสถานการณ์สาธารณภัยตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งประเมินและรายงานระดับความรุนแรงขั้นต้นของสาธารณภัย
3. จัดทำแผนปฏิบัติการความเสี่ยงภัยด้านต่างๆ และแผนการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัยให้เป็นไปตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนด
4. ฝึกซ้อมการป้องกันสาธารณภัยให้เป็นไปตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนด
5. สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของกิจการอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ทีมกู้ชีพกู้ภัย และภาคีเครือข่าย
6. จัดตั้งและอำนวยการบริหารจัดการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจสาธารณภัยในระดับจังหวัด
7. ประสานการปฏิบัติงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัคร เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ในพื้นที่ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับจังหวัด
8. บริหารจัดการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย อพยพ และกู้ชีพกู้ภัยในสภาวะฉุกเฉินโดยการบูรณาการจากทุุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
9. ดำเนินการและประสานงานด้านวิศวกรรมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ รวมทั้งฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในสภาวะฉุกเฉินและดำเนินการแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
10. ควบคุม กำกับ ติดตาม เร่งรัดการปฏิบัติการป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟูด้านสาธารณภัยให้เป็นไปตามที่กฎหมายและระเบียงกำหนด
11. บริหารจัดการและดูแลการใช้ระบบสื่อสารคลื่นความถี่กลางในระดับจังหวัด
12. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย